ปราณแต่ละสาย








 ปราณตะวัน
ปราณต้นกำเนิดของทุกสาย ขีดความสามารถยังไม่ได้เปิดเผยทั้งหมด
ผู้ใช้ :สึกิคุนิ โยริอิจิ

ระบำเทพอัคคี
เคล็ดวิชาการควบคุมลมหายใจที่สืบทอดในตระกูลคามาโดะ และเป็นรูปแบบการหายใจของปราณตะวัน
ผู้ใช้ :คามาโดะ ทันจูโร่,คามาโดะ ทันจิโร่



ปราณวารี
ปราณที่ปรากฏว่ามีผู้ใช้ได้มากที่สุดเท่าที่ออกมาในเรื่อง เทคนิคส่วนใหญ่เน้นที่การโจมตีด้วยความเร็ว หมดจด เคลื่อนไหวได้เสมือนกับคลื่นน้ำ จะมีกระบวนท่าที่ 11 ซึ่งกิยูพัฒนาขึ้นใหม่เอง
ผู้ใช้ :อุโรโกะดากิ ซาคอนจิ,โทมิโอกะ กิยู,คามาโดะ ทันจิโร่,ซาบิโตะ,มาโคโมะ


ปราณเพลิง
ปราณของตระกูลเร็นโกคุ เน้นที่การโจมตีเป็นหลัก
ผู้ใช้ :เร็นโกคุ เคียวจูโร่,เร็นโกคุ ชินจูโร่


ปราณสายฟ้า
ปราณที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องการก้าวย่างด้วยความเร็วสูงสุดในพริบตา
ผู้ใช้ :คุวาจิมะ จิโกโร่,อากาสึมะ เซ็นนิตสึ,ไคกาคุ



ปราณบุปผา
ในเรื่องไม่ได้เปิดเผยมากนัก แต่เท่าที่คานาโอะใช้ออกมาล่าสุด เน้นที่การประยุกต์ปราณกับการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยการใช้สมาธิและการมองเห็นในระดับสูงสุด

ผู้ใช้ :โคโช คานาเอะ,สึยูริ คานาโอะ



ปราณแมลง
ปราณพิษ เฉพาะตัวของชิโนบุ พัฒนาขึ้นมาแก้จุดอ่อนเรื่องสรีระของเธอที่ไม่สามารถตัดศีรษะอสูรได้
ผู้ใช้ :โคโช ชิโนบุ


ปราณสัตว์ป่า
ปราณเฉพาะตัวของอิโนะสึเกะ เพิ่มประสาทสัมผัสการรับรู้ทางร่างกายถึงขีดสุด และประยุกต์กับการยืดหยุ่นของกระดูกและกล้ามเนื้อแบบผิดธรรมชาติ


ผู้ใช้:ฮาชิบิระ อิโนะสึเกะ




ปราณวายุ
เน้นที่การโจมตีแบบต่อเนื่องจากมุมต่าง ๆ และการโจมตีจากบนอากาศ



ผู้ใช้:ชินัตสึกาวะ ซาเนมิ





ปราณหมอก
ประยุกต์การโจมตีด้วยความเร็วสูงหลายครั้งต่อเนื่อง



ผู้ใช้:โทคิโตะ มุอิจิโร่






ปราณเสียง
ปราณเฉพาะตัวของเท็นเก็นคนเดียว เนื่องจากเจ้าตัวเป็นนินจาเก่า มีประสาทการฟังดีเลิศอยู่แล้ว ใช้การฟังเสียงเพื่อจับการเคลื่อนไหว



ผู้ใช้:อุซุย เท็นเก็น






ปราณความรัก
ปราณเฉพาะตัวของมิตสึริ เน้นเพิ่มความเร็ว ยืดหยุ่น พละกำลัง


ผู้ใช้:คันโรจิ มิตสึริ




ปราณอสรพิษ
ปราณเฉพาะตัวของโอบาไน ทำให้ใช้ดาบโจมตีได้เสมือนงู


ผู้ใช้:อิกุโระ โอบาไน




ปราณหินผา
ความสงบและแข็งแกร่งเสมือนกับหินผา


ผู้ใช้:ฮิเมจิมะ เกียวเม




ปราณจันทรา
ปราณพิเศษเฉพาะของมิจิคัตสึ ที่ใช้เวลายาวนานพัฒนาเพื่อจะก้าวข้ามปราณอื่น ๆ มีจำนวนกระบวนท่าที่มากที่สุด


ผู้ใช้:สึกิคุนิ มิจิคัตสึ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น